บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

Part1 -> Section2 -> Classes -> 001. Introduction to C# classes

รูปภาพ
     ยินดีต้อนรับสู่ Section ที่สอง Class, เมื่อเราเข้าสู่โลกของ C# .NET แล้ว เราจะต้องศึกษาการเขียนโปรแกรมแบบ Object Oriented Programming (OOP) เพราะเป็นส่วนที่สำคัญมากๆของตัวภาษา รวมถึงด้วยแนวทางนี้จะทำให้การอ่านโค้ดโปรแกรม การแก้ไขโปรแกรม การนำโปรแกรมกลับมาใช้ซ้ำๆ จะเป็นเรื่องง่ายเลยแหละ ซึ่งบทความเราจะอธิบายพอสังเขปเท่านั้น เพราะเอาเข้าจริงๆเรื่องของ OOP นั้นเนื้อหาสามารถยัดใส่หนังสือได้เป็นเล่มๆ มีหนังสือดีๆหลายเล่มลองหามาอ่านได้      Class เปรียบเหมือนกับ group ของ methods และ ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์กัน ฟังตอนนี้บางคนอาจจะงง ซึ่งก็น่างงจริงๆ ผมยังงงเลย, เราไปดูตัวอย่างประกอบจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นครัช

Part1 -> Section1 -> Basic -> 012. Collection

รูปภาพ
     ตัวแปรปกติที่เคยได้กล่าวมาก่อนหน้านี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงค่าเดียวต่อหนึ่งตัวแปรเท่านั้น หากเราต้องการเก็บค่ามากกว่าหนึ่งค่าต่อหนึ่งตัวแปร เราจะต้องใช้ Collection ในการเก็บข้อมูล ซึ่ง Collection นั้นก็มีอยู่หลากหลายชนิด แต่ที่นี้จะกล่าวเพียงแค่สองชนิดที่ใช้บ่อย คือ Arrays และ Lists 1. Arrays การประกาศนั้นจะเหมือนกับตัวแปรปกติ ต่างนิดเดียวที่มี brackets [] อยู่ที่หลังชนิดข้อมูล โปรดดูตัวอย่าง

Part1 -> Section1 -> Basic -> 011. Functions

รูปภาพ
     ฟังก์ชัน (Function) หรือใน .NET เรียกว่า เมธอด (Method) อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆเลยก็คือ การยกโค้ดบางส่วนไปไว้ที่อื่น (เน้นที่มีการใช้งานโค้ดส่วนนี้ซ้ำๆหลายครั้ง) ซึ่งเราสามารถเรียกใช้โค้ดส่วนนั้นจากที่ไหนก็ได้ และเรียกกี่ครั้งก็ได้ ซึ่งเรียกการทำงานแบบนี้ว่าเป็นการ ใช้โค้ดซ้ำ (reuse) เชิญดูรูปแบบการสร้าง Method ด้านล่าง <accessibility> <return type> <method name>([parameters]) { <code> }

Part1 -> Section1 -> Basic -> 010. Loops

รูปภาพ
     วันนี้เราจะมาศึกษาการเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานแบบวนซ้ำๆ เป็นส่วนที่สำคัญมากในการเขียนโปรแกรม ซึ่งเรามีตัวช่วยอยู่หลายตัวให้เลือกใช้ เราจะมาดูทีละตัวกันเลยว่าใช้งานอย่างไร The while loop      while loop เป็น loop ที่ง่านต่อการเริ่มศึกษา ซึ่งการทำงานของมันก็คือ มันจะทำงานใน block code ไปเรื่อยๆ จะกว่าเงื่อนไขที่เราส่งเข้าไปจะเป็น false ลองดูจากตัวอย่าง using System; using System.Collections.Generic; using System.Linq; using System.Text; using System.Threading.Tasks; namespace ConsoleApplication1 { class Program { static void Main(string[] args) { int number = 0; while (number < 5) { Console.WriteLine("Number: " + number); number += 1; // equal to number = number + 1 } Console.ReadLine(); } } }

Part1 -> Section1 -> Basic -> 009. The switch statement

     switch พูดง่ายๆคือ ทำหน้าที่เหมือนกันกับ if statement คือการทำงานตามเงื่อนไข แต่ switch จะเน้นในกรณีที่มีเงื่อนไขหลายเงื่อนไข ลองดูจากตัวอย่าง using System; using System.Collections.Generic; using System.Linq; using System.Text; using System.Threading.Tasks; namespace ConsoleApplication1 { class Program { static void Main(string[] args) { int cond = 1; switch (cond) { case 0: Console.WriteLine("Condition zero"); break; case 1: Console.WriteLine("Condition one"); break; } Console.ReadLine(); } } }

Part1 -> Section1 -> Basic -> 008. The if statement

     if statement คือโค้ดบล็อกที่ใช้เลือกเงื่อนไข ซึ่ง if ต้องการ boolean เป็น input (มีแค่ true และ false) ลองศึกษาเพิ่มจากตัวอย่าง using System; using System.Collections.Generic; using System.Linq; using System.Text; using System.Threading.Tasks; namespace ConsoleApplication1 { class Program { static void Main(string[] args) { int input; Console.WriteLine("Please enter a number 0 to 10"); input = int.Parse(Console.ReadLine()); if (input > 10) { Console.WriteLine("You enter a number more than 10"); } else if (input > 0) { Console.WriteLine("Good job"); } else { Console.WriteLine("You enter a negative number"); } } } }

Part1 -> Section1 -> Basic -> 007. Variables

     variable หรือตัวแปรเปรียบได้เหมือนกับเป็นห้องเก็บของ ใน C# นั้นรูปแบบการเขียนคือ <data type> <variable name>;      ตัวอย่างเช่น string name;      ตัวอย่างขางบนเป็นรูปแบบพื้นฐานของการประกาศตัวแปร มันสามารถเพิ่ม accessibility (visibility)  (ซึ่งจะได้อธิบายละเอียดอีกครั้งในส่วนของ Class) รวมถึงใส่ค่าให้กับตัวแปรได้ด้วย ดังนี้ <accessibility> <data type> <name> = <value>;

Part1 -> Section1 -> Basic -> 006. Data Types

      Data Types หรือชนิดของข้อมูล สำหรับภาษาที่เป็นแบบ Strongly typed language นั้นชนิดของข้อมูลถือว่าสำคัญมาก เพราะหากเก็บข้อมูลลงในตัวแปรที่มีชนิดไม่ตรงกับข้อมูลแล้วอาจทำให้โปรแกรมทำงานผิดพลาดได้ ต่อไปนี้จะอธิบายชนิดข้อมูลที่ใช้งานบ่อยๆ bool เป็นชนิดของข้อมูลที่เก็บแค่ 2 ค่าเท่านั้น คือ true และ false  เป็นชนิดข้อมูลที่สำคัญมากกับการใช้งานพวก logical operator เช่นพวก if statement int ย่อมาจาก integer เป็นข้อมูลที่เก็บตัวเลขจำนวนเต็มเท่านั้น (ไม่มีจุดทศนิยม) ปกติถ้าเก็บเลขจำนวนเต็มแล้วก็จะใช้ int แต่จริงๆแล้วนั้น C# มีชนิดข้อมูลตัวเลขอีกมาก (byte, short, int, long) ซึ่งการใช้งานนั้นขึ้นกับขนาดของข้อมูลตัวเลขที่จะเก็บ float เป็นชนิดข้อมูลที่ใช้เก็บตัวเลขทศนิยมหรือจำนวนเต็มก็ได้ ซึ่งก็ยังมี double อีกชนิด การใช้งานก็ขึ้นกับขนาดของข้อมูลที่ต้องการเก็บ char ใช้เก็บตัวอักษร (เก็บได้แค่หนึ่งตัวอักษร) string ใช้เก็บข้อความ สามารถเก็บตัวเลขเป็นแบบข้อความได้ด้วย แต่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ สอบถามหรือติดตามได้ที่  https://www.facebook.com/learnaspnetmvcjq...

Part1 -> Section1 -> Basic -> 005. Walk through Hello, World!

     ในบทความที่แล้วเราได้สร้างโปรแกรม Hello, World! แต่ยังไม่ได้อธิบายในรายละเอียดมากนัก ในบทความนี้เราจะอธิบายโค้ดให้เข้าใจมากขึ้น ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึง { และ } มีชื่อว่า curly braces ภาษาไทยเรียกปีกกา ตัวนี้ในทาง programming นั้นใช้ระบุขอบเขตของโค้ด (the beginning and end of a logical block of code) ทีนี้เรามาดูโค้ดจากบทความที่แล้วกัน

Part1 -> Section1 -> Basic -> 004. Hello, World!

รูปภาพ
     ตามธรรมเนียมปฏิบัติของการเริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรม (ซึ่งใครตั้งก็ไม่รู้) เราต้องสร้างโปรแกรม Hello, World! เริ่มต้นเปิด Visual Studio แล้วเลือกที่ File -> New Project... -> Visual C# -> Console Application (คอนโซลเป็นโปรแกรมพื้นฐานของ Windows เพราะส่วนติดต่อผู้ใช้สามารถรับคำสั่งที่เป็น Text เท่านั้น) คลิกปุ่ม OK ตัว Visual Studio จะสร้างโปรเจ็คใหม่ให้เรา ซึ่งจะเปิดไฟล์ Program.cs ไว้ให้เรา จะป็นประมาณนี้

Part1 -> Section1 -> Basic -> 003. Development Tool

     โปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียนโค้ดเราจะใช้ Visual Studio ซึ่งตอนนี้มีข่าวดีฝุดๆ เพราะทาง Microsoft ได้ปล่อย VS เวอร์ชั่นเกือบเต็มให้เราใช้กันได้ฟรีๆ (ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์) ถือว่าป๋ามากๆ โดยตัวนี้มีชื่อเต็มๆว่า  Visual Studio Community  หลังจากดาวน์โหลดเสร็จก็มา install กันเลย (ขั้นตอนที่ให้สร้างไอดีนี่แล้วแต่เรานะ ไม่สร้างก็ได้) สอบถามหรือติดตามได้ที่  https://www.facebook.com/learnaspnetmvcjquery

Part1 -> Section1 -> Basic -> 002. C# Basic Introduction

รูปภาพ
     ดีจร้า บทความนี้เป็นบทแรกของการเริ่มต้นเรียนรู้ของเรานะครัช โดยใน section นี้เราจะมาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับตัวภาษา C# เกี่ยวกับคำสั่งเบื้องต้นที่ต้องรู้และใช้บ่อยกัน ผมจะไม่เขียนในเชิงลึกนะครับ เพราะถ้าลึกมากผมเองก้องง เอาที่เราพอเข้าใจ ใช้ทำงาน แล้วไปต่อยอดได้      เริ่มต้นจากปี 2002 ทาง Microsoft ได้ปล่อย software framework  ออกมาโดยใช้ชื่อว่า .NET Framework อ่านว่า ดอนเน็ทเฟรมเวิร์ค (อย่าสับสนกับดอทเอนะครัช) ซึ่ง Microsoft ได้ให้อิสระกับเราในการเลือกภาษาที่จะใช้เขียนได้หลายภาษา ยกตัวอย่างเช่น C# .NET, VB.NET ฯลฯ เรียกว่าเอาที่เราสบายใจเลยทีเดียว ส่วนเรานั้นจะโฟกันเฉพาะของ C# เท่านั้นครับ